บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง


บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

รู้จักเครื่องดูดฝุ่น
               








งานทำความสะอาดเป็นงานที่จุกจิก และใช้เวลามาก บางครั้งขยะเล็กๆ โดยเฉพาะพวกฝุ่นละเอียด ที่เกาะติดอยู่ตามซอกมุม ทำให้การปัดกวาดเป็นเรื่องลำบาก ไม่สะอาดเท่าที่ควร ดังนั้น จึงมีผู้คิดค้นเครื่องดูดฝุ่นขึ้นมา เพื่อให้งานทำความสะอาดสามารถทำได้ง่ายดายยิ่งขึ้น
แต่เครื่องดูดฝุ่นรุ่นแรกที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นน่าจะเรียกว่าเครื่องเป่าฝุ่นเสียมากกว่า เพราะมันใช้การเป่าอากาศออกมาแทนที่จะดูดอากาศเข้าไปในเครื่อง ทำให้ฝุ่นปลิวฟุ้งไปหมดและไม่ได้ทำให้อะไรสะอาดขึ้นมาเลย ต่อมาก็ได้มีผู้ปรับปรุงประดิษฐ์เครื่องทำความสะอาดที่ดูดอากาศเข้าไปข้างใน เหมือนเครื่องดูดฝุ่นที่เราใช้กันในปัจจุบัน
แต่ในยุคแรกนั้นเครื่องดูดฝุ่นยังไม่มีมอเตอร์ ทำให้การจะดูดฝุ่นแต่ละครั้ง ต้องใช้คนช่วยกันถึง 2 คน คนนึงถือส่วนปลายท่อดูดฝุ่น อีกคนนึงทำหน้าที่ปั๊มลม โดยใช้มือหมุนข้อเหวี่ยงและใช้เท้าเหยียบบนปั๊มลม แต่เนื่องจากเครื่องดูดฝุ่นในยุคนั้นไม่มีส่วนที่กรองอากาศ ฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่ถูกดูดเข้าไปในกล่องไม้ เมื่อคนปั๊มผิดจังหวะ เศษเหล่านั้นก็จะถูกเป่าคืนกลับออกมาทำให้ยุ่งยากต่อการใช้งาน
จนในปีค.ศ. 1901 นายเฮอร์เบิร์ต บูธ (Hubert Booth) ได้ริเริ่มใช้ผ้ามาช่วยในการกรองอากาศ และนำมอเตอร์ก๊าซมาใช้แทนข้อเหวี่ยงหรือที่เหยียบสำหรับปั๊มลม จากนั้นจึงนำถุงผ้าขนาดใหญ่มาใช้เก็บฝุ่นแทนกล่องไม้ และตั้งชื่อว่า พัฟฟิ่ง บิลลี่ (Puffing Billy) เครื่องดูดฝุ่นรุ่นใหม่นี้ใช้การได้ดีมาก แต่ยังมีข้อด้อยตรงที่มีน้ำหนักรวมกว่าร้อยกิโลกรัม บูทจึงไม่คิดจะผลิตเครื่องดูดฝุ่นขาย แต่เปิดบริการรับจ้างดูดฝุ่นขึ้นมาแทน โดยติดตั้งเครื่องไว้บนรถม้าแล้วบรรทุกไปตามบ้านของลูกค้า ให้บริการดูดฝุ่นออกจากพรมและเครื่องเรือน โดยท่อยาวกว่า 200 เมตรสอดเข้าไปทางหน้าต่างชั้นล่างของตัวบ้าน

จนกระทั่งในปีค.ศ. 1905 บริษัทแห่งหนึ่งในซานฟรานซิสโก สามารถผลิตเครื่องดูดฝุ่นที่มีล้อเล็กๆ ติดอยู่ โดยมีน้ำหนักประมาณ 42 กิโลกรัม และในปีค.ศ. 1908 เจมส์ เมอร์เรย์ สแปงเลอร์ (James Murray Spangler) ภารโรงในรัฐโอไฮโอใช้ด้ามไม้กวาดและปลอกหมอนประดิษฐ์เครื่องดูดฝุ่นแบบตั้งเป็นครั้งแรก และนำมันมอบให้กับญาติของเขา ซูซาน ทรอกเซล ฮูเวอร์ (Susan Troxel Hoover) ใช้ และเธอประทับใจมันมาก จนนำไปเสนอให้กับสามีของเธอ วิลเลียม เฮนรี ฮูเวอร์ (Willian Henry Hoover) ซึ่งเป็นนักธุรกิจเครื่องหนัง ทำให้เขามองเห็นโอกาสและตัดสินใจซื้อสิทธิบัตรจากสแปงเลอร์ ก่อนจะเปิดบริษัทเครื่องดูดฝุ่นขึ้นมาในปีเดียวกันนั้นเอง จนทำให้เครื่องดูดฝุ่นยี่ห้อฮูเวอร์แพร่หลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก


อุปกรณ์ในการทำความสะอาดบ้าน

                ไม้กวาดดอกหญ้า





               

ไม้กวาดดอกหญ้าหรือไม่กวาดอ่อน ที่ดีตัวไม้กวาดควรทำจากดอกหญ้าที่อ่อนนุ่ม ผูกติดกันแน่น ด้ามเรียบไม่ขรุขระ จับถนัดมือ น้ำหนักเบา และมีความยาวพอเหมาะกับผู้ใช้ สามารถยืนกวาดได้สบาย ไม่ต้องก้มหลัง ไม้กวาดดอกหญ้าเหมาะสำหรับกวาดฝุ่นละอองหรือเศษขยะชื้นเล็กๆบนพื้นที่แห้ง เช่น พื้นไม้ธรรมดา พื้นปาร์เก็ต พื้นซีเมนต์เรียบๆ พื้นหินอ่อน หินขัด กระเบื้อง หรือฝาผนังเรียบๆ เป็นต้น

เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บโดยเจาะ รูที่ปลายด้ามแล้วแขวนไว้ ซึ่งไม้กวาดดอกหญ้าที่ขายในปัจจุบันมักทำที่แขวนสำเร็จไว้แล้วหรืออาจเก็บ โดยพิงฝาผนังเอาด้ามลงก็ได้ ถ้าตัวไม้กวาดเปียกชื้นควรนำไปตากแดดให้แห้ง





ไม้กวาดก้านมะพร้าว










ไม้กวาดก้านมะพร้าว ที่ดีจะต้องมัดแน่นและใช้ก้านมะพร้าวยาวพอสมควร เหมาะสำหรับกวาดขยะชิ้นใหญ่ๆ กวาดน้ำบนพื้นซีเมนต์ หรืกวาดทางระบายน้ำ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรวางให้สะอาดตากแดดให้แห้งแล้วนำไปเก็บโดยแขวนให้ปลายห้อยลงหรือผิงฝาผนังโดยใช้โคนตั้งกับพื้น




ไม้กวาดหยากไย่




ไม้กวาดหยากไย่หรื้อไม้กวาดเสี้ยนตาล เหมาะสำหรับกวาดหยากไย่บนเพดาน เมื่อใช้เสร็จแล้วควรกำจัดหยากไย่ออกจากไม้กวาดให้หมด แล้วนำไปเก็บโดยวางด้ามลงตั้งพิงกับฝาผนัง หรืวางราบกับพื้นให้ชิดฝาผนัง




ไม้กวาดไม้ไผ่





ไม้กวาดไม้ไผ่ ควรมีด้ามยาวพอเหมาะ สามารถยืนกวาดได้อย่าสะดวก มีด้ามและตัวไม้กวาดแข็งแรง เหมาะสำหรับกวาดเศษกระดาษ ใบไม้ต้นไม้ที่ตัดแล้ว หรือสิ่งอื่นๆในสนามที่เป็นพื้นดิน หรือพื้นซีเมนต์ที่แห้ง ไม่ควรให้เปียกน้ำ เนื่องจากจะทำให้ผุง่าย ดังนั้น จึงควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่เปียกชื้น โดยอาจวางตั้งเอาด้ามลงหรือวางราบกับพื้นให้ชิดผนังห้องก็ได้

ไม้กวาดขนไก่





ไม้กวาดขนไก่ ที่ดีขนหนาและผูกติดกันแน่น ขนไม่หลุดร่วงง่าย แต่เดิมทำจากขนไก่ ปัจจุบันมักทำจากขนไก่ที่สังเคราะห์ขึ้น เนื่องจากความต้องการไม้กวาดขนไก่มีมากขึ้นและใช้งานได้คงทนกว่า ไม้กวาดขนไก่ใช้สำหรับปัดฝุ่นตามชั้นวางของ หลังตู้ หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ หลังจากใช้เสร็จแล้ว ควรแขวนไว้ที่ผนังห้องและไม่ควรให้เปียกน้ำ

ที่โกยขยะ




ที่โกยผง มีทั้งแบบที่ทำด้วนพลาสติก และแบบที่มำจากสังกะสีต่อด้วยด้ามไม้ยาว ที่โกยผงที่ดี ส่วนปลายของตัวที่โกยผงควรวางทาบกับพื้นได้สนิท เพื่อให้สามารถกวาดเศษผงเข้าได้ง่าย ถ้าเป็นที่โกยพลาสติกเมื่อใช้เสร็จแล้ว ล้างน้ำให้สะอาดแล้วคว่ำในที่ร่มให้แห้งจึงเก็บเข้าที่ ส่วนที่โกยผงที่เป็นสังกะสี เมื่อใช้เสร็จแล้วให้ทำความสะอาดด้วยการเช็ด ไม่ควรนำไปล้างน้ำเพราะจะทำให้เป็นสนิมได้ง่าย

เครื่องดูดฝุ่น








เครื่องดูดฝุ่น เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แทนไม้กวาด ช่วยให้การทำความสะอาดบ้านสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพยิ่งขึ้น เครื่องดูดฝุ่นมีทั้งแบบตั้ง และแบบทรงกลม ซึ่งสามารภทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆได้ ทั้งพื้นห้อง ฝาผนัง เพดาน ชั้นวางของ เบาะรถหรือโซฟา โดยเลือกใช้หัวดูดหรือหัวแปรงให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นผิวที่จะทำความสะอาด นอกจากนี้เครื่องดูดฝุ่นบางชนิดยังสามารถดูดน้ำและสิ่งสกปรกที่เปียกแฉะได้


ผ้าขี้ริ้ว


ผ้าขี้ริ้ว ควรเป็นผ้าที่มีเนื้อนุ่มสามรถซับน้ำได้ดี เช่น ผ้าขนหนูหรือผ้ายืด ซึ่งเราสามารถนำผ้าเช็ดตัวผืนเก่าหรือเสื้อยืดตัวเก่ามาตัดให้มีขนาดพอเหมาะสำหรับทำเป็นผ้าขี้ริ้วได้ เหมาะสำหรับการถูพื้นที่แคบ ชั้นวางของ ขอบหน้าต่าง หรือบนโต๊ะ เมื่อใช้เสร็จแล้วต้องซักให้สะอาด ตากแดดให้แห้งแล้วพับเก็บให้เรียบร้อย

ไม้ถูพื้น

           ไม้ถูพื้น ช่วยให้การถูพื้นสะดวกรวดเร็วกว่าการถูด้วยผ้าขี้ริ้วแต่เหมาะสำหรับการถูพื้นที่กว้างๆไม่มีซอกมุม ไม้ถูพื้นมีทั้งชนิดที่ใช้ไม้ถูเปียกและชนิดที่ใช้ถูแห้ง ชนิดถูเปียกมักทำด้วยฟองน้ำ ผ้ากระสอบหรือผ้าหนาๆ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรซักหรือล้างให้สะอาดแล้วนำไปตากแห้ง ส่วนชนิดถูแห้งมักทำด้วยเส้นด้าย เหมาะสำหรับถูพื้นไม้ขัดมัน หรือพื้นปาร์เกต์ เมื่อใช้เสร็จแล้วให้สะบัดฝุ่นละอองออก หากเปียกชื้นควรผึ่งให้แห้งก่อนนำไปเก้ฐ การเก็บให้วางด้ามลงพิงกับฝาผนัง


แปรง


     แปรง ที่ใช้ทำความสะอาดบ้านมีรูปแบบแตกต่างกัน และทำจากวัสดุหลายชนิดให้เหมาะแก่การใช้งาน เช่น แปรงลวด แปรงพลาสติก แปรงเสี้ยนตาล แปรงเหล่านี้ใช้สำหรับขัดพื้น และสิ่งของต่างๆ แปรงลวดและแปรงพลาสติกเหมาะสำหรับขัดพื้นไม้และพื้นซีเมนต์ ส่วนแปรงเสี้ยนตาลนอกจากจะใช้ขัดพื้นได้แล้ว ยังใช้ขัดโถส้วม โอ่งน้ำ หรือสิ่งขิงอื่นๆ ได้ด้วย แปรงที่มีด้ามจะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากขัดได้ในระยะที่กว้างกว่าแปรงที่ไม่มีด้าม เมื่อใช้เสร็จแล้วควรล้างให้สะอาดตากให้แห้ง แล้วนำไปเก็บเข้าที่


วิธีประหยัดไฟ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 1. ปิดสวิตซ์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน ดับไฟทุกครั้งที่ออกจากห้อง

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 2. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ หากมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้องเลือกใช้เบอร์ 5

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 3. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง สำหรับเครื่องปรับอากาศทั่วไป และ 30 นาที สำหรับเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5


          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 4. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ เพื่อลดการเปลืองไฟในการทำงานของเครื่องปรับอากาศ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 5. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 6. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ตรวจสอบและอุดรอยรั่วตามผนัง ฝ้าเพดาน ประตูช่องแสง และปิดประตูห้องทุกครั้งที่เปิดเครื่องปรับอากาศ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 7. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสาร หรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการใช้พลังงานในการปรับอากาศ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 8. ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคาร และบุฉนวนกันความร้อนตามหลังคาและฝาผนัง เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนักเกินไป

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 9. ควรปลูกต้นไม้รอบ ๆ บ้าน เพราะต้นไม้ขนาดใหญ่ 1 ต้น ให้ความเย็นได้เท่ากับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 10. ควรปลูกต้นไม้เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา เพื่อเครื่องปรับอากาศจะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 11. ปลูกพืชคลุมดินเพื่อช่วยลดความร้อน และเพิ่มความขึ้นให้กับดิน จะทำให้บ้านเย็นขึ้นไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 12. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ จะช่วยประหยัดไฟได้มาก


          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 13. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน เช่น ใช้หลอดผอมจอมประหยัด หรือ ใช้หลอดตะเกียบ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 14. ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ เพื่อช่วยให้แสงสว่างจากหลอดไฟ กระจายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 15. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากขึ้น

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 16. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน แทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 17. ควรใช้สีอ่อนทาผนังนอกอาคารเพื่อการสะท้อนแสงที่ดี และทาภายในอาคารเพื่อทำให้ห้องสว่างได้มากกว่า

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 18. ปิดตู้เย็นให้สนิท ทำความสะอาดภายในตู้เย็น และแผ่นระบายความร้อนหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ


          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 19. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย และอย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักขึ้น กินไฟมากขึ้น

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 20. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ เพราะจะทำให้ความเย็นรั่วออกมาได้

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 21. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว และควรตั้งตู้เย็นไว้ห่างจากผนังบ้าน 15 ซม.

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 22. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็นสม่ำเสมอ การปล่อยให้น้ำแข็งจับหนาจนเกินไปจะทำให้เครื่อง ต้องทำงานหนัก ทำให้กินไฟมาก

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 23. เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว เนื่องจากตู้เย็น 2 ประตู จะกินไฟมากกว่าตู้เย็นประตูเดียวที่มีขนาดเท่ากัน เพราะต้องใช้ท่อน้ำยาทำความเย็นที่ยาวกว่าและใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่กว่า

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 24. ควรตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้มีอุณหภูมิพอเหมาะ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 25. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า เพราะต้องใช้ความร้อนในการรีดมากขึ้น


          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 26. ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ เพราะความร้อนที่เหลือในเตารีด ยังสามารถรีดต่อได้จนกระทั่งเสร็จ

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 27. ไม่ควรเสียบและถอดปลั๊กเตารีดบ่อย ๆ เพราะการทำให้เตารีดร้อนแต่ละครั้งกินไฟมาก

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 28. หลังซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่องซักผ้า เพราะจะเปลืองไฟมาก

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 29. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู โดยปิดที่ตัวเครื่อง ไม่ใช้ปุ่มแสตนด์บายจากรีโมท เพราะเครื่องจะยังมีการใช้ไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 30. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้เสียงดังเกินความจำเป็น

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 31. เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง เพราะผมที่เปียกมาก ๆ ต้องใช้เวลาเป่านาน

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 32. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก 5 นาที เพราะความร้อนที่เตาจะร้อนต่ออีกอย่างน้อย 5 นาที เพียงพอที่จะทำให้อาหารสุกได้

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 33. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวทิ้งไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟเกินความจำเป็น

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 34. กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เพราะนอกจากจะไม่ประหยัดพลังงานแล้ว ยังอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 35. หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องมีการปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำ หม้อหุงต้ม ไว้ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ


          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 36. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน ติดตั้งระบบลดกระแสไฟฟ้าเข้าเครื่อง เมื่อพักการทำงาน จะประหยัดไฟได้ร้อยละ 35-40 และถ้าหากปิดหน้าจอทันที เมื่อไม่ใช้งานจะประหยัดไฟร้อยละ 60

          คำอธิบาย: https://hilight.kapook.com/img_cms2/dookdik/aom_za_20060803212904.gif 37. ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน (เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ฯลฯ) ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงาน ลดการใช้กำลังไฟฟ้า เพราะมีระบบประหยัดไฟฟ้าอัตโนมัติ

          เห็นไหมว่าแต่ละอย่างนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเลย และจะเป็นเรื่องที่ดีมากหากเราปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ได้จนติดเป็นนิสัย ในทุก ๆ วันของเรา เพราะการประหยัดไฟนั้นนอกจากจะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานของโลก เป็นการเก็บรักษาพลังงานที่ใกล้หมดไป ให้เรายังคงมีใช้ในอนาคคต และช่วยให้ประเทศของเราผ่านวิกฤติไฟไม่พอเพียงไปได้แล้ว ยังสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าของเราได้มาก จากการบั่นทอนค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็นออกไป มาเริ่มช่วยกันตั้งแต่วันนี้ และชักชวนคนรอบข้างให้ร่วมทำสิ่งดี ๆ ไปด้วยกันนะคะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น